บล๊อกของอาอ๋อม น่ะค่ะ

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ ( OS – Operating System )
เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
 คุณสมบัติการทำงาน
 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
คุณสมบัติการทำงาน ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • การทำงานแบบ Multi – Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานทีละโปรแกรมคำสั่ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงานไประหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่มใหม่ ๆ ซึ่งทำให้การใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลาย ๆ โปรแกรม
การทำงานแบบ Multi - Tasking
  • การทำงานแบบ Multi – User ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
การทำงานแบบ Multi – User

ซอฟต์แวร์ (Software)

ระบบปฏิบัติการ OS คืออะไร


01ระบบปฏิบัติการ OS คืออะไร
โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
Software OS
Firmware OS, Hardware OS


ไปหน้าบทความที่หน้าสนใจ
ระบบปฏิบัติการ OS (Operating System)
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows, Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น
โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
  • Software OS เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง OS โดยส่วนใหญ่จะเป็น Software OS เนื่องจากสามารถปรับปรุง แก้ไข พัฒนาได้ง่ายที่สุด
  • Firmware OS เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือ ไมโครโปรแกรม (Microprogram) ซึ่งเกิดจากชุดคำสั่งที่ต่ำที่สุดของระบบควบคุมการทำงานของ CPU หลายๆ คำสั่งรวมกัน การแก้ไข พัฒนา ทำได้ค่อนข้างยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
  • Hardware OS เป็น OS ที่สร้างจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เหมือน Software OS แต่เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของฮาร์ดแวร์ ทำให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้ยาก และมีราคาแพง
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
เนื่องจาก OS ถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์หลัก คือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานแก่ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องทราบการทำงานของฮาร์ดแวร์ ก็สามารถทำงานได้โดยง่าย ดังนั้น จึงต้องมีส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ ในลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งาน
2. ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
OS เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ โดยผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในการทำงานของฮาร์ดแวร์ ดังนั้น OS จึงต้องมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ต่างๆ เหล่านั้นแทนผู้ใช้ โดยจะมีส่วนประกอบเป็นรูทีนต่างๆ ซึ่งจะควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิด
3. จัดสรรทรัพยากรในระบบ
ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ เข้าช่วย เช่น CPU หน่วยความจำ เป็นต้น และทรัพยากรเหล่านี้มีจำกัด จึงจำเป็นต้องมีการจัดสรรการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และทำให้การประมวลผลดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา itexcite.com
มี.ค.
09
20
14

ถึงเวลาเปลี่ยนเป็น ระบบปฏิบัติการ Windows 8 แล้ว

20:58 PM

ถึงเวลาเปลี่ยนเป็น
ระบบปฏิบัติการ Windows 8 แล้ว


บ่อยครั้งที่มีนาคมเป็นเดือนที่วุ่นวายสำหรับคนที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเดือนสุดท้ายของการจ่ายภาษี และอาจเจอปัญหาจ่ายภาษีไม่ทันเวลา กลายเป็นเสียค่าปรับโดยใช่เหตุ
ในปีนี้องค์กรต่างๆ ก็อาจจะมีโอกาสเจอเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นในทำนองเดียวกันนี้ได้เช่นกัน เพราะวันที่ 8 เมษายน ฝ่ายไอทีขององค์กรจำเป็นต้องย้ายระบบปฏิบัติการจาก Windows XP ไปสู่ Windows 8 ไม่เช่นนั้นอาจเจอกับปัญหาค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากไมโครซอฟท์จะไม่มีการออกโปรแกรมแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย หรือปรับปรุง Windows XP อีกต่อไป
การกำหนดเส้นตายอาจจะดูน่ากลัวสำหรับบองค์กรต่างๆ ที่ยังคงใช้ระบบปฏิบัติตัวนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม การ์ทเนอร์ และนักวิเคราะห์รายอื่นๆ คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาเป็นปีในการเตรียมการ และทดสอบสำหรับองค์กรที่จะให้ย้ายไปใช้ Windows เวอร์ชั่นใหม่
"ผู้จัดการฝ่ายไอทีคงอุ่นใจได้ถ้าพวกเขา คิดว่านี่เป็นเพียงแค่การอัพเกรดระบบปฏิบัติการที่มีแค่การปรับปรุงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางส่วน" เคที่ กรัมเก้ ผู้จัดการโซลูชั่นของซีดีดับเบิ้ลยู กล่าว "การแก้ปัญหาความสามารถในการทำงานเข้ากันได้ของแอพพลิเคชั่นเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองเวลามากที่สุด"
โชคดีที่มีข่าวดีสำหรับผู้จัดการฝ่ายไอทีที่กำลังรู้สึกเป็นกังวลกับการย้ายระบบปฏิบัติการ หลายองค์กรยังคงมีวิธีที่ชาญฉลาดในการรับมือกับเส้นตายที่กำลังมาถึงในเดือนเมษายนนี้ ในขณะที่เป็นการลดความเสี่ยงและทำให้ได้รับประโยชน์ทางธุรกิจที่สำคัญจากระบบปฏิบัติการที่มีความทันสมัยมากขึ้น กุญแจสำคัญคือการพัฒนากลยุทธ์ในการย้ายระบบปฏิบัติการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และครอบคลุม รวมถึงใช้ประโยชน์จาก ผู้เชี่ยวชาญภายนอก
เลิกผัดวันประกันพรุ่งได้แล้ว
สำหรับหลายองค์กรการผัดวันประกันพรุ่งไม่ได้เป็นเหตุผลหลักที่พวกเขายังคงใช้งาน Windows XP อยู่ เป็นเพราะทุกวันนี้มันได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการระดับคลาสสิกที่กำหนดมาตรฐานด้านความน่าเชื่อถือ และการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน ซึ่งทำให้มันกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับแอพพลิเคชั่นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด แต่เวลานั้นได้ผ่านไป ด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่ความสามารถใหม่ๆ ที่จำเป็นใน Windows เวอร์ชั่นใหม่ไปจนถึงปัญหาด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย
"การยังคงใช้งาน Windows XP อยู่ก็เหมือนกับการขับรถที่คุณหาซื้ออะไหล่ไม่ได้แล้ว" เจย์ พอลลัส ผู้อำนวยการด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ Windows ของไมโครซอฟท์ กล่าว "รถอาจจะไม่หยุดทำงานในทันที แต่ ถ้าคุณมีปัญหา คุณก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือที่คุณต้องการ"
ข้อดีของการปรับเปลี่ยน Windows
หลายองค์กรได้รับประโยชน์ในการแข่งขันจากการใช้แพลตฟอร์มระบบปฏิบัติการรุ่นที่ใหม่กว่าอยู่แล้ว อย่าง Windows 7 ก็เข้ามาแทนที่ XP ในฐานะที่เป็นระบบปฏิบัติการที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในช่วงสองปีที่ผ่านมา และในปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 46 ของตลาดระบบปฏิบัติการทั้งหมด แต่ที่กำลังมาแรงที่สุดในขณะนี้ก็คือ Windows 8
การย้ายไปใช้งานระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่กว่าเหล่านี้ให้ประโยชน์หลายประการ ได้แก่
1. เพิ่มความสามารถในการรักษาความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์:Windows 7 มีจุดเด่นเหนือกว่า Windows รุ่นก่อนหน้านี้ในด้านการป้องกันข้อมูล และไม่ให้แอพพลิเคชั่นที่ไม่พึงประสงค์ทำงานบนระบบเครือข่ายขององค์กร และเป็นที่รับรู้กันดีในอุตสาหกรรมที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีส่วนใหญ่ในธุรกิจผู้ให้บริการทางธนาคาร และการเงินต่างชี้ให้เห็นว่าคุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยของ Windows 7 ประกอบด้วยการป้องกันการแพทช์เคอร์เนล การอุดช่องโหว่ของบริการต่างๆ และฟังก์ชั่นพิเศษซึ่งช่วยในการป้องกันความเสียหายระบบไฟล์บริการต่างๆ ของวินโดวส์ที่อาจจะเกิดจากการรันการทำงานของไวรัส สปายแวร์ มัลแวร์หรือโทรจัน? โดยอาจจะถูกโจมตีมาจากโค้ดไวรัส สปายแวร์ที่ถูกฝังอยู่ในหน่วยความจำ คือปัจจัยผลักดันให้มีการย้ายมาสู่ระบบปฏิบัติการใหม่
Windows 8 เพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น
ที่สำคัญ Windows 8 ยังได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยมากขึ้นด้วยโปรแกรมเข้ารหัสข้อมูล BitLocker เวอร์ชั่นสำหรับองค์กร และ DirectAccess เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้งานจากระยะไกลมีความปลอดภัยโดยยอมให้ผู้จัดการฝ่ายไอทีบังคับใช้นโยบายในการเข้าถึงเครือข่ายได้
ไมโครซอฟท์เผยว่าเครื่องพีซีที่ใช้ Windows 8 มีโอกาสติดมัลแวร์น้อยกว่าเครื่องที่ใช้ Windows XP ถึง 21 เท่าเพราะมีการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยในตัวระบบปฏิบัติการโดยตรง หนึ่งในตัวอย่างนี้ก็คือ Secure Boot ที่ใช้เทคโนโลยี Universal Extensible Firmware Interface (UEFI) เพื่อป้องกันการโจมตีจากการติดตั้งมัลแวร์บนเครื่องถือเป็นส่วนประกอบของการโหลดระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมป้องกันไวรัสในระหว่างที่ระบบเริ่มต้นทำงาน
2. ประหยัดค่าใช้จ่าย: การย้ายไปใช้ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่มีผลดีกับธุรกิจ "การมีช่องโหว่ที่เป็นจำนวนมากทำให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นเก่ากว่ายากกว่าการย้ายไปใช้เวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า" อานิล ดีซาย ที่ปรึกษาอิสระด้านไอทีกล่าว "เมื่อเทียบกันแล้วค่าใช้จ่ายของการย้ายระบบปฏิบัติการถูกกว่าจ้างคนมาให้การสนับสนุนแพลตฟอร์มที่ล้าสมัยเสียอีก"
จากงานวิจัยล่าสุดของไอดีซีที่ออกมา ซึ่งได้ศึกษาในหัวข้อ "การบรรเทาความเสี่ยง : ทำไมการยึดติดกับ Windows XP จึงเป็นความคิดที่แย่" ไอดีซีระบุว่าการสนับสนุนเครื่องพีซีที่ใช้ Windows XP เครื่องเดียวมีค่าใช้จ่ายประมาณ 870 เหรียญต่อปี ซึ่งมากกว่าค่าใช้จ่ายของเครื่องพีซีที่ใช้ Windows 7 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 168 เหรียญอย่างเห็นได้ชัด
ไอดีซีรายงานเพิ่มเติมว่าในทำนองเดียวกัน ไอดีซีพบว่านอกจากนี้ระยะเวลาในการหยุดการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และปัญหาอื่นๆ ที่เกิดกับเครื่องที่ใช้ XP ยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ไอดีซีรายงานว่าค่าใช้จ่ายในการเพิ่มผลผลิตในการทำงานต่อเครื่องพีซีในแต่ละปีเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 177 เหรียญในปีที่ 2 ไปเป็น 324 เหรียญในปีที่ 5 รวมค่าใช้จ่ายทั้งด้านไอทีและค่าใช้จ่ายในการเพิ่มผลผลิตในการทำงานของผู้ใช้จะสูงขึ้นถึงร้อยละ 73 สำหรับเครื่องเหล่านี้ในปีที่ 5 เมื่อเทียบกับปีที่ 2
ไอดีซีพบว่าการติดตั้งใช้งานระบบปฏิบัติการใหม่จะคืนทุนภายใน 12 เดือน โดยมีผลตอบแทนการลงทุนในปีที่สามร้อยละ 137
3. ประโยชน์จากการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน: การมีแพลตฟอร์ม เดียวที่สามารถใช้กับเครื่องพีซีแบบตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่น และไฟล์เดียวกันโดยใช้อินเตอร์เฟซที่คุ้นเคย โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าเป็นเครื่องแบบไหน
"ข้อมูลที่อยู่บนอุปกรณ์เหล่านี้แต่ละตัวจะถูกต้องตรงกัน" พอลลัส กล่าว "ตัวอย่างเช่นถ้าผมได้โน๊ตบุ๊คใหม่มา ผมก็สามารถเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วใช้งานแอพพลิเคชั่น ข้อมูล รูปภาพทั้งหมด และตั้งอีเมล์ของผมได้ภายในเวลาไม่กี่นาที"
4. รองรับเวอร์ชวลไลเซชั่น และคลาวด์: ด้วยเทคโนโลยีเเวอร์ชวลไลเซชั่น Hyper-V ของไมโครซอฟท์ที่ฝังอยู่ใน Windows 8 Pro ทำให้องค์กรต่างๆ มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมใช้งานสำหรับการทำเวอร์ชวลไลเซชั่น และความคิดริเริ่มในการสร้างไพรเวทคลาวด์
"ถ้าคุณคิดจะขยายโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคลาวด์ของคุณ จะต้องมีการใช้ Windows เวอร์ชั่นล่าสุดใมากกว่า Windows XP" ดีซาย กล่าว "แค่เหตุผลนี้อาจจะเพียงพอที่จะทำให้บางองค์กรจะย้ายไปใช้ระบบปฏิบัติการที่ใหม่กว่า"
เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ต้องย้ายระบบปฏบัติการให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็คือ การใช้งานระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่าแสดงให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ เอาจริงเอาจังกับการส่งมอบบริการที่มีคุณภาพสูงให้กับลูกค้าและ ผู้ใช้ของตน
"คุณไม่ต้องการที่จะอยู่ในสถานการณ์ที่ว่าเวลาที่ลูกค้าส่งไฟล์มาให้คุณ แต่อ่านไม่ได้จนทำให้คุณต้องติดต่อกลับไปถามลูกค้าว่า คุณแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ Office 2003 ได้ไหม?" ดีซายกล่าว "พวกเขาก็มักจะตอบกลับมาว่าทำได้ พร้อมคำถามที่มักตามมาว่าทำไมองค์กรของคุณถึงยังไม่ใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นล่าสุดอีกเหรอ"
Linux คืออะไร
Linux คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับ  Windows หรือ Unix และระบบอื่นๆ
ข้อดีของระบบปฏิบัติการ  Linux
1.เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าลิขสิทธิ์
2.ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ
3.สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory ) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวนการทำงานระหว่าง Process ต่างๆ
4.มีความสามารถแบบ UNIX
5.สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น
6.เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมา ทำให้มีผู้พัฒนาจากทั่วโลกสามารถเข้ามาพัฒนาและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบได้ตลอด ช่วยให้ระบบปฏิบัติการ  Linux ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
7.การติดตั้งระบบ Linux จาก CD-Rom/DVD นั้น โปรแกรมแทบจะทุกโปรแกรมที่เราต้องการก็จะถูกติดตั้งลงไปพร้อมๆกัน ไม่เหมือนกับ Windows ที่จะต้องมานั่งลงทีละโปรแกรม ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นวันๆ และยังต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ สำหรับบางโปรแกรมอีก
8.รองรับการใช้งานของผู้ใช้หลายๆ คนได้พร้อมๆ กัน หมายความว่าผู้ใช้แต่ละคนสามารถที่จะ remote login ผ่านโปรแกรม telnet หรือ secure shell เพื่อเข้าไปใช้งานเครื่อง Server ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix ได้หลายๆ คนพร้อมๆ กัน
9.ระบบ Linux นั้นมีโปรแกรมแทบจะทุกอย่างให้ใช้ฟรี ซึ่งสามารถทำงานได้ดีพอๆกับโปรแกรมในระบบ Windows

Linux คืออะไร ลินุกซ์ คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง



ข้อมูลอ้างอิง
http://www.lovespacediary.com
http://linuxunix54321.tripod.com
http://g41act.multiply.com


สัปดาห์ที่ 2
     
ระบบปฏิบัติการ คืออะไร
ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีการให้ความหมายของระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) ว่าเป็นซอฟต์แวร์ ซึ่งควบคุมกรทำงานของฮาร์ดแวร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการให้ความหมายใหม่ดังนี้
ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างโดยซอฟต์แวร์ หรือเฟิร์มแวร์ (Firmware คือ โปรแกรมที่ประกอบด้วยไมโครโค๊ดโปรแกรม ซึ่งเก็บอยู่ในหน่วยความจำ ROM และ PROM) หรือทั้งซอฟต์แวร์และเฟิร์มแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีความถูกต้องแม่นยำ
ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ
ถ้ามีรถยนต์อยู่แต่ขับรถยนต์ไม่เป็น รถยนต์คันดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตาม ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไม่มีระบบปฏิบัติการคอยควบคุมการทำงาน ซึ่งเปรียบได้กับรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์เลย ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีความสำคัญเปรียบเสมือนกับคนขับรถยนต์ที่จะต้องคอยควบคุมรถให้เดินทางไปถึงที่หมายอย่างถูกต้อง และปลอดภัย ระบบปฏิบัติการก็จะต้องควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการไม่ได้นำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์สมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องเล่นเกมส์ หรือแม้กระทั่งเครื่องซักผ้า ก็มีระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานเช่นกัน แต่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์นั้น ๆ โดยเฉพาะ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
  1. หน้าที่หลัก คือ จัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ อุปกรณ์อินพุต–เอาท์พุต อุปกรณ์สื่อสาร และข้อมูล
  2. หน้าที่รอง ประกอบด้วย
    • เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้ (User Interface) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ได้ ซึ่งการติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร หรือรูปภาพ (Graphic User Interface : GUI) ดังรูป
    • ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ ในองค์กรส่วนใหญ่จะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 คนขึ้นไป และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล เป็นต้น
    • ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ระบบปฏิบัติการจะอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนมีสิทธิ์ใช้ข้อมูลนั้น ๆ และช่วยจัดคิวของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ
    • แก้ไขปัญหาการทำงาของระบบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดในขณะที่ทำงานอยู่ ระบบปฏิบัติการจะทำการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพอยู่เสมอ
    • ช่วยให้หน่วยอินพุท-เอาท์พุตทำงานได้คล่องตัวในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อินพุต และเอาท์พุตต่าง ๆ ต้องอาศัยระบบปฏิบัติการ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ถูกต้องและสอดคล้องกัน
    • คำนวณทรัพยากรที่ใช้ไป ในการทำงานคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อระบบ ระบบปฏิบัติการจะช่วยคำนวณทรัพยากรที่ได้ใช้ไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใช้ ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
    • ช่วยให้ระบบทำงานเป็นแบบขนาน ระบบปฏิบัติการจะแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ เรียกว่า
      โปรเซส (Process) ซึ่งจะทำให้การทำงานเสร็จเร็วยิ่งขึ้น
    • จัดการโครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อ
      ข้อมูล และมีการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
    • ควบคุมการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย เนื่องจากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการรับ-ส่งข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบ ซึ่งการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นต้องอาศัยระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
  1. เคอร์เนล (Kernel) หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้นเคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหน้าที่ในการติดต่อ และควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (Application Programs)
  2. โปรแกรมระบบ (System Programs) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ เช่น Administrator
ประเภทของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการ สามารถแยกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้
  1. แบบหลายผู้ใช้ (Multi-user) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมในเวลาเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์
  2. แบบมัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) หมายถึง ระบบปฏิบัติการ ซึ่งสามารถใช้ CPU มากกว่า 1 ตัวในการประมวล หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบปฏิบัติการที่มีการประมวลผลแบบขนาน (Parallel processing)
  3. แบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการแบบมัลติทาสกิ้งจะทำการแบ่งเวลาการใช้งาน CPU ของโปรแกรมแต่ละตัว ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมได้พร้อมกัน
  4. แบบมัลติทรีดดิ้ง (Multithreading) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ส่วนต่าง ๆ (Thread) ภายในโปรแกรมเดียวกันสามารถทำงานได้พร้อมกัน
  5. แบบเวลาจริง (Real time) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่ตอบสนองต่ออินพุตแบบทันทีทันใด จะเป็นระบบปฏิบัติการี่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะงาน 
ประวัติระบบปฏิบัติการวินโดวส์
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนการทำงานแบบ Multi Tasking ซึ่งต่างจากระบบปฏิบัติการ MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ Single Tasking ในการใช้งาน MS-DOS ผู้ใช้ต้องจดจำคำสั่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก บริษัทไมโครซอฟต์จึงคิดค้นและพัฒนาโปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้และใช้รูปภาพแทนคำสั่งต่างๆ นั่นคือ ระบบปฏิบัติการ Windows
ในการที่จะใช้วินโดวส์นั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีประสิทธิภาพสูง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ในระยะเริ่มแรก Windows จึงไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ต่อมาวงการคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ราคาถูกลง Windows จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่เริ่มถูกจับตามอง และในปี ค.ศ. 1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Windows 3.0 ออกมาและได้รับความนิยมอย่างสูง ไมโครซอฟต์จึงพัฒนา Windows 3.1 และ Windows 3.11 ส่งผลให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายคนหันมาใช้วินโดวส์
ไมโครซอฟต์ยังไม่หยุดพัฒนาวินโดวส์ด้วยเหตุที่ว่ามันเป็นเพียงโปรแกรมที่ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS ประกอบกับทางฮาร์ดแวร์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ได้ถูกพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้นจากเดิม 8 บิตมาเป็น 16, 32 และ 64 บิตใน CPU ตระกูล Pentium ในปี ค.ศ. 1995 ไมโครซอฟต์จึงเปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 ซึ่งได้รวมการทำงานของ MS-DOS เข้าไปด้วย
Windows 95 ถูกออกแบบให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี CPU ขนาด 32 บิตขึ้นไป และถึงแม้ Windows 95 จะได้รับความนิยมมากแต่ก็ยังมีจุดบกพร่องของโปรแกรม บริษัทไมโครซอฟต์ได้ทำการปรับปรุง Windows และได้ออก Windows 95 OSR 1 และ Windows 95 OSR 2 ในปี ค.ศ. 1996
ในปีถัดมาไมโครซอฟต์ได้แก้ไขบั๊กและได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ ให้กับวินโดวส์ แต่ก็ไม่ได้จัดให้เป็นวินโดวส์รุ่นใหม่ในปี ค.ศ. 1998 ไมโครซอฟต์ได้เปิดตัว Windows 98 ซึ่งไมโครซอฟต์ได้เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาคุณสมบัติเดิมที่มีอยู่แล้วใน Windows 95 ให้ดียิ่งขึ้น จุดเด่นของ Windows 98 ที่ทางไมโครซอฟต์ได้สนองความต้องการของผู้ใช้ 3 ด้าน ได้แก่
  1. การขยายความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ต
  2. เพิ่มความสามารถในการใช้งานด้านบันเทิง (Multimedia) เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ทรัพยากรของเครื่องให้สูงขึ้น
    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น